reborn5th
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

8เหตุผลที่วงการการ์ตูนไทยไม่โต !!

Go down

8เหตุผลที่วงการการ์ตูนไทยไม่โต !! Empty 8เหตุผลที่วงการการ์ตูนไทยไม่โต !!

ตั้งหัวข้อ by »Z€RO« Thu Oct 07, 2010 8:03 pm

8เหตุผลที่วงการการ์ตูนไทยไม่โต
วัยรุ่น(หรือผู้ใหญ่แล้ว)ในวงการส่วนใหญ่ จะมีความฝันหนึ่งว่า "สักวัน ผลงานการ์ตูนของฉัน จะต้องได้รับการตีพิมพ์" หรือบางคนมักน้อยลงมาหน่อยคิดแค่ว่า "ส่งประกวดก็ขอให้ติด 1 ในสิบก็เป็นเกียรติเป็นศรีแก่วงศ์ตระกูล"
แต่สังเกตุบ้างไหมคะ นักเขียนฝีมือดีก็มีตั้งมากตั้งมาย ทำไม สำนักพิมพ์ถึงไม่ค่อยมีการ์ตูนฝีมือคนไทยมาลงกันเลย หรือถึงแม้จะลง ก็ทู่ซี้พิมพ์ได้ ไม่เกิน 10 ฉบับก็เป็นอันต้องปิดตัวทุกรายไปราวกับเป็นอาถรรพ์ ไอ้ที่อยู่ได้ ถ้าไม่เพราะมีการ์ตูนจีน ญี่ปุ่นแทรกในเล่ม ก็คงอยู่ไม่รอดแน่ๆ
จะบอกให้ วงการการ์ตูนไทย ทำไมถึงไม่โต ...

ข้อที่ 1 คนไทยไม่เห็นคุณค่า
.......ว่าด้วยเรื่องของรสนิยมการอ่าน เป็นเรื่องที่น่าน้อยใจที่สุดของวงการเลยค่ะ ถึงแม้ว่าปัจจุบัน คนไทย จะหันมาไทยทำไทยใช้กันมากขึ้น นวนิยายวัยรุ่นของคนไทยเขียนเองก็เริ่มตีตลาดนวนิยายเกาหลีและญี่ปุ่นก็มาก แต่ยังคงสร้างความฉงนที่ ทำไม คนไทยถึงยังคงนิยมอ่านการ์ตูนต่างชาติกันอยู่
.......ท่านทราบหรือไม่ว่า การ์ตูนไทยนั้น ถ้าหมายรวมถึงวงการแอนิเมชั่นด้วยก็มีอายุยาวนานมากกว่าหรืออาจจะพอๆกับ การ์ตูนวอลด์ ดิสนี่ เลยทีเดียว แม้แต่วงการยอดมนุษย์เอง การ์ตูนไอ้มดแดงก็มีการเขียนขึ้นโดยคนไทยเมื่อ 30 ปีก่อน น่าแปลกที่จู่ๆ เหมือนช่วงนั้นของเวลาก็ขาดหายไปซะเฉยๆ โผล่มาอีกที การ์ตูนญี่ปุ่น มังกะ จีนเกาหลี ก็ดังคับบ้านคับเมืองจนคนไทยไม่มีแก่ใจจะหันกลับมามองการ์ตูนของคนไทยกันเองถึงแม้จะส่งเสริมไป ค่านิยมนี้เปลี่ยนยากมากๆ
...ในเมื่อไม่มีคนอ่าน คนเขียนจะมีกำลังใจเขียนเหรอคะ??

ข้อที่ 2 โดนตัดกำลัง
........นักเขียนเด็กใหม่ไฟแรงทั้งหลาย ผู้มีความทะยานอยากและปรารถนาว่า การนำต้นฉบับไปสู่สายตาประชาชนคือจุดหมายปลายทางของการเป็นนักเขียน มันมีอะไรมากกว่านี้เยอะเลยเจ้าค่ะ ก่อนที่งานจะถูกตีพิมพ์ได้ ก็ต้องผ่านกำแพงด่านแรกไปให้ได้ก่อน นั้นคือสำนักพิมพ์ และคนที่ถือว่า กุมชะตาชีวิตของนักเขียนตาดำๆ ก็คือ บก.ค่ะ บก. คือบุคคลที่นักเขียนมักหวาดผวา เพราะทุกที่จะอารมณ์เดียวกันหมด พูดง่ายๆว่า ผลงานไหนดีเลิศเพียงใด พอเจอ บก.เข้าไป โดนติยับไม่เหลือชิ้นดีเลยค่ะ โดยประสบการณ์การนำงานไปเสนอในช่วงที่ยังไฟแรงโชติช่วงนั้น พบว่า บก.ทุกที่ จะมองการณ์ไกลไปถึงขั้น การจัดจำหน่ายค่ะ และเหตุผลที่เขาติยับ ก็เพื่อดูกำลังใจของนักเขียน ยิ่งเด็กมาก ยิ่งโดนเล่นมาก บางครั้งโดนถึงขั้นเลิกเขียนไปเลยก็มี แต่ถ้าเข้าไปแบบคนโตๆหน่อย บก. บางท่านจะเล่าถึงเหตุผลว่า ทำไมผลงานถึงผ่านยากผ่านเย็น อย่างเช่นคำถามที่ว่า
"จุดขายของการ์ตูนคุณอยู่ที่ไหน" หรือ
"การ์ตูนคุณ แตกต่างจากของคนอื่นอย่างไร"
.......พูดง่ายๆว่า ถ้าเขารับงานเราไปพิมพ์แล้ว เขาจ่ายค่าต้นฉบับมาให้ก็จริง แต่เขาจะเอาไปพิมพ์ขายต่อได้ไหม ทำกำไรได้คุ้มค่าต้นฉบับที่เสียไปหรือเปล่า จุดนี้ นักเขียนส่วนมากมักมองไม่เห็นค่ะ ก็ตะบี้ตะบันเขียนไป พอโดนบก.สวนเข้ามา ก็อึ้งกิมกี่แหมช่างกระไร บก.ใจร้ายไม่ให้กำลังใจแถมยังด่าซ้ำอีก
.... คนเราคบกันด้วยผลประโยชน์นะคะ....

ข้อที่3 มาตรฐานสำนักพิมพ์สูงเกินรับ
......เนื่องจากผลงานที่วาดออกมาดีนั้น ต้องติดตลาด ติดตาคนอ่านจึงจะขายได้ ทำให้สำนักพิมพ์ต่างๆ คาดหวังว่า ผลงานของนักเขียนหน้าใหม่ที่นำมาเสนอ จะต้องเลอเลิศเพอเฟ็กต์ ซึ่ง มักถูกเปรียบเทียบกับนักเขียนต่างชาติเสมอ ว่า คุณภาพไม่ถึงบ้าง เส้นไม่ดีบ้าง เนื้อเรื่องไม่ผ่านบ้าง โถ... บก.เขาไม่ได้มาเขียนเอง ไหนเลยจะเข้าใจนักเขียนตาดำๆได้ละคะ สังคมการ์ตูนไทยจึงปิดอยู่แบบนี้แหละคะ เพราะคนที่เข้าไปก่อน ก็ยังอยู่ในสายงาน อย่างนักเขียนบางท่านที่อยู่ได้ เพราะออกผลงานมาแต่ไหนแต่ไร เช่นนักเขียนหลายๆท่านในนิตยสารดังทั้งหลาย ซึ่งนับคนได้เลยว่า มีไม่ถึง 20 ท่านที่อยู่มานานมากกว่า 5-6 หรือ 10 ปี
......แน่นอนค่ะ ด่านหินของนักเขียนใหม่คือ จะไปสู้กับคนที่เขามีผลงานออกขายเป็นสิบๆปีได้อย่างไร ยิ่งเอาไปเทียบกับญี่ปุ่น ยิ่งไปกันใหญ่ บก.จะมองว่า นักเขียนบางคน อีโก้แรงเกินไป บางคนหัวอ่อนพอปรับได้ บางคนเส้นดีแต่เนื้อเรื่องห่วย บางคนเนื้อเรื่องดีภาพห่วย บก.บางท่านยึดติดความเป็นไทยอย่างไม่มีเหตุผล บางท่านก็มองว่า ถ้าไม่ญี่ปุ่นจ๋าก็ขายไม่ออกเป็นต้น นานาจิตตัง ไม่มีดีสักอย่างหายากที่จะเพอเฟกต์ขนาดรับงานมาพิมพ์ทันทีในครั้งแรกของการเสนองาน
......นักเขียนไทยอ่อนหัด บก.ก็จะเอาไปเทียบกับนักเขียนต่างชาติที่เขาดังแล้วดังอีกซะเรื่อย

ข้อที่ 4 คนในไม่ยอมออก คนนอกอยากเข้า
......นี่ละสังคมไทย พวกมากลากไปเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ว่าวงการไหนก็ตามค่ะ บางคนฝีมือดีแต่ไม่มีคนใน โอกาสออกงาน ยากส์ ผิดกับบางคน ที่เรามองว่า เขียนไม่ได้เรื่อง เนื้อเรื่องก็ตลาดๆห่วย เจือกได้พิมพ์ สืบเนื่องมาจากข้อ 3 คนที่เข้าก่อนมีสิทธิ์ก่อนนั้น เพราะช่วงแรกของการเริ่มทำการ์ตูนไทยแทรกในนิตยสารการ์ตูนญี่ปุ่น ครั้นจะไปรับสมัครนักเขียนก็กลัวเสียเวลาคัดเลือก เลยชวนๆคนรู้จักที่ใจรักเขียนการ์ตูนมาช่วยๆหน่อย เผื่อว่ามันไม่รู่งจะได้ไม่เสียหายมาก แรกๆก็เขียนแบบเรื่องสั้นๆ 3-4 ตอนจบไปก่อน เพราะมีคนติดอ่านการ์ตูนญี่ปุ่นในนิตยสาร พอเห็นของไทยติดมาในเล่มก็ลองอ่าน ไม่รู้หรอกคะว่ามีสักกี่คนที่ติดการ์ตูนไทย แต่เพราะมีการ์ตูนญี่ปุ่นแทรกในฉบับด้วยรึเปล่าจึงทำให้ ขายได้ขายดี บก.เลยเหมาเอาว่า นักเขียนกลุ่มนี้ อยู่ได้
........เด็กใหม่เลยยากที่จะเจาะเข้าไปเพราะกลุ่มเก่าเขายังเกาะหนึบติดแน่นอยู่แบบนี้ไงละคะ....

ข้อที่ 5 นักเขียนไทยไม่ชอบทำงานเป็นทีม
.......ข้อนี้คือข้อด้อยของวงการข้อนึงเลยค่ะ นักเขียนไทย มีอีโก้แรง ไม่ค่อยชอบรวมกลุ่มกัน หรือลดตัวไปเป็นผู้ช่วยใครง่ายๆ งานใครงานมัน ผิดกับญี่ปุ่น เพราะสังคมการ์ตูนเขามีนักเขียนหลายรุ่น นักเขียนที่ดังแล้วก็มักจะมีคนมาขอสมัครเป็นลูกมืออยู่เนืองๆ บางครั้งก็เป็นนักเขียนหน้าใหม่ที่ทางบก.ของสำนักพิมพ์ ส่งไปฝึกมือก่อนสักปีสองปี ค่อยออกงานเอง คนไทยทำอย่างนั้นไม่ได้สักทีเพราะ นักเขียนไทย ไม่มีรุ่นค่ะ มีแต่คนเดี่ยวๆ และมาทีเดียวก็เป็นทีมอยู่แล้ว น้อยมากที่จะรับผู้ช่วย หรือมีคนยอมเป็นผู้ช่วย อุตสาหกรรมการ์ตูนของไทยไม่โต ก็อย่างที่เห็นละคะ คนไทยIndividual สูงมาก ขนาดบก.ขอปรับนิดแต่งหน่อย ก็โวยวายและเลิก ย้ายไปเสนอที่อื่นๆต่อเหมือนตั๊กแตนย้ายไร่ ทั้งที่บางทีถ้าเราหาเพื่อนมาช่วยเรื่องที่เราไม่ถนัดอย่าง ถ้าไม่ถนัดเขียนฉาก ก็มองหาเพื่อนที่ชอบเขียนฉากมาช่วย หรือเนื้อเรื่องไม่ดี ก็หาคนที่มีไอเดียบรรเจิดแต่วาดไม่ได้เรื่องมาช่วย เป็นต้น ....

ข้อที่ 6 ขาดความชำนาญ
......ทีแรกจะตั้งหัวข้อว่า ขาดเครื่องมือ .....มันไม่ใช่... ต้องเรียกว่า ขาดความชำนาญเสียมากกว่า เมื่อหลายสิบปีก่อน นักเขียนไทยที่มานะพยายามทั้งบนดินใต้ดิน ก็ดิ้นรนหาวัสดุมาใช้กัน ทั้งหัวปากกาเอย สกรีนโทนเอยปัจจุบันนี้ ของมันหาง่ายขึ้น G-pen เอย Copic เอย แม้แต่สกรีนโทนที่เมื่อก่อนต้องกัดฟันซื้อในราคาแสนจะแพง ก็ไม่จำเป็นอีกต่อไปเนื่องจากมีคอมพิวเตอร์ช่วยให้สะดวกในหลายๆด้าน ต้องบอกว่า ขาดความชำนาญมากกว่า
......ในประเทศไทยยังมีสถาบันที่สอนศาสตร์การเขียนการ์ตูนน้อยมากๆ เพราะคนไทยส่วนใหญ่มองว่า มันก็เหมือนเด็กวาดสีน้ำ ขีดๆเขียนๆ เล่นๆเป็นงานอดิเรก ไม่ได้ส่งเสริมจริงจังเป็นอุตสาหกรรมอะไร คนที่เข้ามาสอนตรงนี้ ก็คือคนที่เขียนการ์ตูนเก่งเฉยๆ ไม่ได้เป็นนักเขียนมีผลงานอะไรมากมาย (มีน้อยที่นักเขียนที่มีผลงานดัง จะลงมาสอนเอง) ดังนั้นหลักการและความชำนาญจึงมีน้อย เด็กที่มาเรียน บางส่วนคาดหวังว่าจะมีผลงานลงตีพิมพ์ โรงเรียนการ์ตูนเหล่านี้ก็ไม่ได้คิดจะสานต่อความฝันของเด็กๆที่จะผลักดันให้ผลงานของนักเรียนที่มาเรียน เข้าสู่สำนักพิมพ์ เข้าสู่ตลาดจริงค่ะ การเรียนวาดการ์ตูน จึงยังคงเป็นงานอดิเรกยามว่างสำหรับเด็กและวัยรุ่นในสายตาผู้ใหญ่อยู่ดี....

ข้อที่7 ขาดการสนับสนุนอย่างจริงจัง
......ข้อนี้คือสิ่งที่น่าน้อยใจสุดๆสำหรับวงการมังกะ ในขณะที่วงการแอนิเมชั่นของไทย โตเอาโตเอา อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ผิดกับมังกะ ไม่เข้าใจว่า ทำไมผู้ใหญ่ถึงเหมารวมว่า การ์ตูนคือการ์ตูน ไม่ใช่แอนิเมชั่น มังกะ การ์ตูน.... และมองแค่ว่า รูปแบบที่ขายได้ พัฒนาได้ ก็คือ แอนิเมชั่น เพราะเทคนิกที่ปัจจุบันมีนั้น ทำให้แอนิเมชั่นก้าวกระโดดไปไกลเหลือหลาย
.......แล้ว นักเขียนการ์ตูนละ....ไปไหน
ส่วนหนึ่งก็โดนดึงไปเขียนคาแรกเตอร์แอนิเมชั่น หันหัวไปทำงานศิลป์บ้าง บางคนทนบนดินไม่ได้ก็ลงใต้ดินไป เขียนโด Y โด H ขายเลยก็มี.... นั่นยิ่งทำให้ผู้ใหญ่มองว่า การ์ตูนเล่ม เป็นของไม่มีประโยชน์ นอกจากจะสิ้นเปลืองทรัพยากรกระดาษแล้ว ยังมอมเมาเยาชนอีกด้วย
.......ถึงแม้บางช่วง ทางกระทรวงวัฒนธรรม จะออกการ์ตูนส่งเสริมจริยธรรม ส่งแจกจ่ายไปตามโรงเรียนต่างๆบ้าง แต่สุดท้าย ก็หายเงียบเข้ากลีบเมฆไป ..... บางครั้งมีการ์ตูนอะไรเด่นๆบูมขึ้นมา อย่าง อภัยมณีซาก้า แล้วเป็นไงละคะ... ตอนนี้ก็เงียบๆเหงาๆไปเหมือนกัน


ข้อที่8 ยัดเยียดความเป็นไทย
......ความเป็นไทยในการ์ตูนไทย เป็นสิ่งที่ทั้งคนอ่าน คนเขียน และบก. ถกเกียงกันมานานเป็นสิบๆปี ว่า อะไรคือความเป็นไทย นักเขียนบางคนที่ยึดติดขายความเป็นไทย ก็จะยัดเยียดความเป็นไทยใส่การ์ตูนเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น เด็กจุก ผีกระสือ นางตานี บ้านทรงไทย แฟนตาซีแบบไทย เอาตัวละครในรามเกียรมาแปลงบ้าง บลาๆ ต่างๆนานา จนบางครั้ง เนื้อเรื่องไม่ได้ส่งเสริมให้ไทยแต่ก็ยัดเนื้อหาให้พยายามดูเป็นไทยจนน่าเกลียด ทำให้คนอ่านเอียนภาพความยัดเยียดความเป็นไทย และมองว่า ทำไมไม่เป็นธรรมชาติแบบการ์ตูนญี่ปุ่น...
.....บางครั้ง นักเขียนก็เขียนเพื่อเอาใจบอก. ที่มองว่า การ์ตูนไทย ควรมีความเป้นไทย และแม้ว่าเส้นจะญี่ปุ่นจ๋าแค่ไหน ถ้าแสดงว่ามีเด็กจุกในเรื่องสักคน ก็อาจได้รับการพิจารณาง่ายกว่าการ์ตูนวัยรุ่นที่เอาเซนเตอร์พอยท์มาดำเนินเรื่อง
......แต่ก็อีกละ เพราะคนอ่านติดภาพการยัดเยียดความเป็นไทยแบบไม่เป็นธรรมชาติของนักเขียนรุ่นแรกๆ เลยทำให้มองว่า การ์ตูนไทย จะต้องเป็นแบบนั้น ไม่เด็กอาชีวะตีกัน ก็มีเด็กจุก ไม่ก็ออกแนวแฟนตาซีลิเก จักรๆวงศ์ชนิดชื่ออ่านยาก ศ 8 ตัว ร 5 ตัว อะไรแบบนั้น .จากนั้น...ย้อนกลับไปอ่านข้อ 3.... มาข้อ 4..... และข้อ 5 ตามลำดับ....
........ถามจริงๆเถอะ ถ้ายังยึดติดแค่ว่า ความเป็นไทยๆ แล้วคนญี่ปุ่นที่เขียนเรื่อง น้อย ที่พิมพ์โดยสยามอินเตอร์คอมิกส์เมื่อหลายปีก่อน เนื้อเรื่องทั้งหมด เกิดในประเทศไทย มีทั้งวัดพระแก้ว พระบรมมหาราชวัง ตลาดน้ำพระเอกก็เป็นคนไทย แค่ว่า นางเอกเป็นสาวญี่ปุ่นที่มาเที่ยวในไทยเท่านั้นเอง ทุกอย่างไทยหมด คุณยังจะมองว่า นี่คือการ์ตูนไทยรึเปล่าละคะ...เปรียบเทียบกับนักเขียนไทยที่เขียนออกมาแนวสากล ไม่มีอะไรที่ไทยเลย เนื้อเรื่องเกิดแบบแฟนตาซี ชื่อตัวละครก็ปะกิตจ๋า จะมองว่าเป็นการ์ตูนไทยได้ไหม.....
......ความเป็นไทยอยู่ไหน จะบอกให้ ก็เพราะคนไทยเป็นคนเขียนไงคะ สัญชาติการ์ตูนจึงเป็นไทย

Credit http://arachan.exteen.com/20061220/entry
»Z€RO«
»Z€RO«
wabmaster
wabmaster

จำนวนข้อความ : 16
เครดิต:reborn5th : 14883
กระทำความดี : 0
Join date : 06/10/2010

https://reborn5th.forumth.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ